วันศุกร์ที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2554

ข้าวมันสงขลา









ข้าวมันสงขลา เป็นอาหารเช้าที่ชาวสงขลาดั้งเดิมนิยม ซื้อรับประทานเป็นอาหารอย่างหนึ่งในหลายๆ อย่างที่มีให้เลือก มาในปัจจุบันข้าวมันที่เคยขายในอดีตถูกปรับเปลี่ยนไป ตามสภาวะเศรษฐกิจที่มีราคาแพง อย่างเช่นแกงไก่ของเดิมจะเป็นแกงไก่เนื้อล้วนๆ ไม่มีผักผสมลงไป น้ำแกงข้นขลุกขลิก แต่ส่วนใหญ่ในปัจจุบันจะมีน้ำกะทิใสกว่า และใส่ผักเช่น ถั่วฝักยาว มะเขือ เป็นต้น เนื้อไก่จะสับทั้งกระดูก ข้าวมันสงขลาคิดว่าเป็นการดัดแปลงจากอาหารอิสลามที่นิยมรับประทานกันในภาคใต้ และมาเลเซีย ซึ่งเรียกว่า Nasi lemak (นาสิเลอมัก) เป็นอาหารที่คนท้องถิ่นกินกันได้ทุกช่วงเวลา ทั้งเช้า สาย บ่าย เย็น แต่ที่เห็นจะนิยมที่สุดน่าจะเป็นช่วงเช้า เพราะกินสะดวก พกพาง่าย และราคาถูกมากๆ ส่วนตัวข้าวของนาสิเลอมักนั้น นอกจากจะหอมกะทิสดแล้ว โดยมากจะใส่เตยหอม ขิง หรือตะไคร้เพื่อเพิ่มกลิ่นหอมอันเป็นเอกลักษณ์ให้กับตัวข้าว ส่วนเครื่องเคียงนั้น โดยมากจะประกอบด้วยถั่วลิสงทอด แตงกวาหั่นแว่น ปลาฉิ้งฉ้างทอด (ภาษามาเลย์จะเรียก ikan bilis ครับ) ไข่ต้ม และซัมบัล (sambal: เครื่องเคียงที่ทำจากพริก หน้าตาคล้ายๆ น้ำพริกเผา บ้านเราทำได้หลายแบบมาก) แต่ถ้าจะให้หรูก็สามารถเสิร์ฟพร้อมๆ กับเครื่องเคียงอื่นๆ ได้เหมือนกัน อย่างไก่ทอด อาหารทะเล ผัดผักบุ้ง หรือ rendang ซึ่งอันนี้จะขึ้นอยู่กับร้านแต่ละที่และภูมิภาค อย่างแบบอินเดียก็จะไม่เสิร์ฟกับเนื้อวัว แบบมุสลิมไม่เสิร์ฟกับเนื้อหมู ส่วนแบบจีนๆ ก็จะเน้นเสิร์ฟกับเครื่องเยอะๆ แต่รสจะไม่เผ็ดจัด








Nasi Lemak*สำหรับ 4 ที่ประกอบด้วย



ข้าวหุงกะทิ กะทิ 2 ถ้วย น้ำ 2 ถ้วย ขิงผง 1/4 ช้อนชา ขิงสดซอยบางๆ 1 แง่ง เกลือเล็กน้อย ใบกระวาน 1 ใบ ใบเตย 3 ใบ มัดไว้เป็นข้อๆ ข้าวซาวและล้างให้สะอาด 2 ถ้วย



Sambal Ikan Bilis



น้ำมันพืช 2 ช้อนโต๊ะ หอมหัวใหญ่ 1 หัว หั่นบางๆ กระเทียม 3 กลีบ ซอยบางๆ หอมแดง 3 หัว ซอยบางๆน้ำพริกเผา 2 ช้อนชา ปลาข้าวสาร หรือปลาฉิ้งฉ้าง 150 กรัม (ล้างและซับน้ำให้แห้ง)เกลือ ตามชอบน้ำตาลทราย 3 ช้อนโต๊ะ น้ำมะขามเปียก 1/4 ถ้วย ถั่วลิสง 1 ถ้วยแตงกวา 2 ลูก (หั่นเป็นแว่นๆ)ไข่ต้มสุกแข็ง 4 ฟอง ปลาข้าวสาร หรือปลาฉิ้งฉ้าง 150 กรัม (ล้างและซับน้ำให้แห้ง) น้ำมันพืชสำหรับทอด



สำหรับข้าวมันสงขลา



ข้าวจะหุงด้วยกะทิ กะทิใช้ทั้งหัวและหางกะทิ ถ้าไม่ต้องการให้มันมากใส่หัวกะทิเล็กน้อย ซอยหัวหอมบางๆ เกลือเล็กน้อย อาจใส่น้ำตาลด้วย และใส่ใบเตย ใส่กะทิพอท่วมข้าวสักหนึ่งข้อนิ้วชี้ ใช้หม้อไฟฟ้าหุงได้ ถ้าให้ดีใช้หม้อ tafral ข้าวจะได้ไม่ติดหม้อให้รำคาญใจ เมื่อเห็นว่าข้าวจะใกล้สุกจะต้องใช้ไม้พาย กลับข้าวบนลงล่างให้ระอุให้ทั่วทั้งหม้อ





แกงไก่ ใช้หน้าอกไก่ หั่นพอคำ เครื่องแกงประกอบด้วย พริกแห้ง ตะไคร้ ข่าพอสมควร ผิวมะกรูดไม่ต้องใส่ ถ้าอยากใส่ให้ใส่นิดเดียว หัวหอมใช้ครึ่งหนึ่งของกระเทียม เกลือ พริกไทย กะปิเล็กน้อย เวลาผัดเครื่องแกงคอยคนอย่าให้กะทิแตกมัน ปรุงรสด้วยน้ำตาล เกลือหรือน้ำปลาให้กลมกล่อม ไม่ต้องใส่ใบมะกรูด หรือใบโหระพา



เครื่องเคียงมี กุ้งหวาน น้ำพริกเผ็ด มะม่วงยำหรือมะขามยำ



กุ้งหวาน



ซื้อกุ้งขนาดเล็ก ล้างน้ำให้สะอาดตัดหัวกุ้งออก ตั้งไฟในช่วงแรกใช้ไฟแรงเพื่อให้กุ้งขึ้นแวว หลังจากนั้นลดไฟลงใส่น้ำเล็กน้อยอย่าใส่มากเพราะสักครู่น้ำกุ้งจะออก ตอนแรกใส่น้ำตาลปีบอย่ามากถ้ามากกุ้งจะแข็งเพราะน้ำตาลรัดตัวกุ้ง ซอยหัวหอมใส่เพื่อลดกลิ่นคาว ใส่เกลือเล็กน้อย เมื่อน้ำเริ่มงวดใส่น้ำตาลเพิ่ม

ยำมะม่วง ในช่วงเดือนเมษายน จะมีมะม่วงเบาออกมากสามารถนำมาทำยำมะม่วง เป็นรสเปรี้ยว มะม่วงไม่ต้องปลอกเปลือก นำมะม่วงไปขูดให้เป็นเส้นเล็กๆ ถ้าหน้ามะขามก็สามารถใช้มะขามแทนได้ โดยโขลกให้ละเอียดพร้อมเกลือ เพื่อไม่ให้มะขามมีสีดำ เมื่อเตรียมส่วนนี้เสร็จนำน้ำตาลปีบมาละลาย แล้วใส่หัวหอมซอย เครื่องเคียงนี้ออกรสเปรี้ยวนำ น้ำพริกเผ็ด เป็นเครื่องเคียงที่มีรสเผ็ดนำ ใช้กระเทียมกับพริกขี้หนูสวนในปริมาณที่เท่าๆกัน โขลกใส่น้ำมะนาว และน้ำตาลปีบเล็กน้อย เติมน้ำปลาหน่อยหนึ่ง ถ้าข้นมากอาจเติ่มน้ำต้มสุกแล้ว ได้เล็กน้อย การรับประทาน นำข้าวที่หุงด้วยกะทิ ใส่แกงไก่ กุ้งหวาน ยำมะม่วง น้ำพริกเผ็ด และมีแตงกวา มะเขือ หรือถั่วพลู เป็นผักสดแก้ม เวลารับประทานต้องนำทุกอย่างคลุกเคล้าให้เข้ากัน รสชาดจะหอมเครื่องแกง มีรสหวาน เผ็ด และเปรี้ยว อร่อยมากๆๆๆ ขอบอก